ผจญภัยในเถื่อนถ้ำ พิสูจน์เสาหินสูงที่สุดในโลก สโมสรโรตารี่ทองผาภูมิได้เสนอให้กรมป่าไม้ จัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาพระฤาษีบ่อแร่แปลง 2 อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี พื้นที่ประมาณ 300,000 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติ เนื่องจากมีสภาพพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีทิวทัศน์จุดเด่นทางธรรมชาติสวยงาม
กรมป่าไม้ได้พิจารณาแล้ว เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ และแหล่งต้นน้ำลำธารตามนโยบายของรัฐบาล จึงให้นายศราวุธ เมืองพระ เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 ตำแหน่งเลขที่ 2237 ทำหน้าที่หัวหน้าวนอุทยานพุม่วง และวนอุทยานพระแท่นดงรัง ไปดำเนินการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม และจัดตั้งพื้นที่ป่าดังกล่าวในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และให้นายปรีชา ภู่ระหงษ์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 ตำแหน่งเลขที่ 2225 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ไปปฏิบัติงานทำหน้าที่หัวหน้าวนอุทยานพุม่วง และวนอุทยานพระแท่นดงรัง ทั้งนี้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 อนุญาตให้นักวิชาการป่าไม้ เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ เจ้าพนักงานป่าไม้ ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาตินี้ตามคำสั่งกรมป่าไม้ มีอำนาจกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อประโยชน์ในการควบคุม ดูแลรักษาหรือบำรุงป่าสงวนแห่งชาติได้
ต่อมาอุทยานแห่งชาติลำคลองงู ได้มีหนังสือ ที่ กษ 0712.444/56 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2543 จัดส่งข้อมูลเพื่อนำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ และให้ดำเนินการกันพื้นที่ที่จะส่งผลกระทบต่อการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเพื่อเป็นไปไม่ให้ขัดกับพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ออกจากพื้นที่เตรียมประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำคลองงู
ผืนป่าอุทยานแห่งชาติลำคลองงู มีความอุดมสมบูรณ์มากเป็นเพราะที่ตั้งอุทยานแห่งชาติแห่งนี้อยู่ในบริเวณเทือกเขาตะนาวศรี ติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อุทยานแห่งชาติเขาแหลม อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ ดังนั้นจึงมีความหลากหลายทางด้านพรรณพืชและสัตว์ป่า เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจและศึกษาหาความรู้ นอกจากนี้ยังมีเสาเขาหินปูนที่สูงที่สุดในโลกโดยมีความสูงประมาณ 62.5 เมตร ซึ่งเป็นต้นน้ำของเขื่อนศรีนครินทร์ มีเนื้อที่ 375,000 ไร่ หรือ 600 ตารางกิโลเมตร ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2543 ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนแนวเขาวางตัวในทิศเหนือ–ใต้เป็นส่วนใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี ความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเลประมาณ 100 – 1,000 เมตร ยอดเขาที่สำคัญได้แก่ ยอดเขาบ่องาม
ลักษณะภูมิอากาศ
เป็นแบบมรสุมเขตร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในฤดูร้อนและลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูหนาว สภาพพื้นที่เป็นหุบเขาสลับซับซ้อนจึงทำให้มีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อน และหนาวจัดในฤดูหนาว แบ่งได้เป็น 3 ฤดูได้แก่ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์ ลักษณะท้องฟ้าจะมีเมฆมากในราวเดือนมิถุนายน ถึง เดือนกันยายน และมีเมฆน้อยในเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าโดยทั่วไปของอุทยานแห่งชาติลำคลองงูยังคงมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
ป่าเบญจพรรณแล้งสูงผสมไผ่ พบมากในพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนและตอนปลายของห้วยลำคลองงู ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 300 เมตรขึ้นไป มีไผ่ 2-3 ชนิด ขึ้นปะปนอยู่ค่อนข้างหนาแน่น ส่วนระดับความสูงกว่า 500 เมตร มีไม้ไผ่ขึ้นปะปนค่อนข้างเบาบาง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ประดู่ มะค่าโมง จำปีป่า จำปาป่า ก่อ กระพี้เขาควาย ตะแบก มะเกลือ กาสามปีก ไผ่หก และไผ่รวก เป็นต้น
ป่าเบญจพรรณแล้งต่ำผสมไผ่ พบขึ้นปกคลุมพื้นที่บริเวณที่มีความสูงน้อยกว่า 300 เมตรจากระดับน้ำทะเลลงมา มีไผ่ 2-3 ชนิด ขึ้นปะปนค่อนข้างหนาแน่น
ป่าดิบแล้ง พบบริเวณลำห้วยต่างๆ และตามหุบเขาที่มีความชันมาก ในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-700 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยาง กระบก กระบาก สมพง มะไฟป่า ชมพู่น้ำ ฯลฯ พืชชั้นล่างได้แก่ เต่าร้าง หวาย และพืชในวงศ์ขิงข่า
พื้นที่อุทยานแห่งชาติลำคลองงู เป็นป่าผืนเดียวกันกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จึงมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม ปัจจุบันสัตว์ป่ามีจำนวนลดลงเนื่องจากถูกราษฎรในพื้นที่แผ้วถางป่าอันเป็นแหล่งอาศัยและทำลายอย่างหนัก สัตว์ป่าบางส่วนจึงอพยพหนีเข้าไปอาศัยอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร แต่ก็ยังมีการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่และเข้ามาหากินในพื้นที่อยู่เสมอ เท่าที่สำรวจพบและสอบถามจากราษฎรในพื้นที่ได้แก่ เลียงผา ช้างป่า เก้ง กวางป่า หมูป่า หมีควาย เสือลายเมฆ เสือโคร่ง กระจง ลิง ค่าง ชะนี อีเห็น กระรอก กระแต ชะมด หนู นกเงือก พบบริเวณเทือกเขาต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และเขตอุทยานแห่งชาติเขาแหลม และยังพบนกนางแอ่นลมอาศัยกันอยู่เป็นจำนวนมากบริเวณถ้ำคลองงูตอนกลาง
นอกจากนี้ยังมีนกเขาเหยี่ยว นกฮูก นกเค้าแมว นกกระปูด นกปรอด นกกางเขน นกขุนทอง นกแซงแซว นกตะขาบ นกหัวขวาน นกขมิ้น นกกวัก ไก่ป่า ไก่ฟ้า งู ตะกวด ลิ่น ตุ๊กแกป่า กิ้งก่าบิน กิ้งก่าแก้ว จิ้งเหลน ตะขาบ ตะพาบ น้ำ กบ เขียด คางคก ปาด อึ่งอ่าง จงโคร่ง ปลาเวียน ปลากระทิง และปลาก้าง เป็นต้น
กรมป่าไม้ได้พิจารณาแล้ว เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ และแหล่งต้นน้ำลำธารตามนโยบายของรัฐบาล จึงให้นายศราวุธ เมืองพระ เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 ตำแหน่งเลขที่ 2237 ทำหน้าที่หัวหน้าวนอุทยานพุม่วง และวนอุทยานพระแท่นดงรัง ไปดำเนินการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม และจัดตั้งพื้นที่ป่าดังกล่าวในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และให้นายปรีชา ภู่ระหงษ์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 ตำแหน่งเลขที่ 2225 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ไปปฏิบัติงานทำหน้าที่หัวหน้าวนอุทยานพุม่วง และวนอุทยานพระแท่นดงรัง ทั้งนี้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 อนุญาตให้นักวิชาการป่าไม้ เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ เจ้าพนักงานป่าไม้ ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาตินี้ตามคำสั่งกรมป่าไม้ มีอำนาจกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อประโยชน์ในการควบคุม ดูแลรักษาหรือบำรุงป่าสงวนแห่งชาติได้
ต่อมาอุทยานแห่งชาติลำคลองงู ได้มีหนังสือ ที่ กษ 0712.444/56 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2543 จัดส่งข้อมูลเพื่อนำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ และให้ดำเนินการกันพื้นที่ที่จะส่งผลกระทบต่อการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเพื่อเป็นไปไม่ให้ขัดกับพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ออกจากพื้นที่เตรียมประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำคลองงู
ผืนป่าอุทยานแห่งชาติลำคลองงู มีความอุดมสมบูรณ์มากเป็นเพราะที่ตั้งอุทยานแห่งชาติแห่งนี้อยู่ในบริเวณเทือกเขาตะนาวศรี ติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อุทยานแห่งชาติเขาแหลม อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ ดังนั้นจึงมีความหลากหลายทางด้านพรรณพืชและสัตว์ป่า เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจและศึกษาหาความรู้ นอกจากนี้ยังมีเสาเขาหินปูนที่สูงที่สุดในโลกโดยมีความสูงประมาณ 62.5 เมตร ซึ่งเป็นต้นน้ำของเขื่อนศรีนครินทร์ มีเนื้อที่ 375,000 ไร่ หรือ 600 ตารางกิโลเมตร ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2543 ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนแนวเขาวางตัวในทิศเหนือ–ใต้เป็นส่วนใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี ความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเลประมาณ 100 – 1,000 เมตร ยอดเขาที่สำคัญได้แก่ ยอดเขาบ่องาม
ลักษณะภูมิอากาศ
เป็นแบบมรสุมเขตร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในฤดูร้อนและลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูหนาว สภาพพื้นที่เป็นหุบเขาสลับซับซ้อนจึงทำให้มีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อน และหนาวจัดในฤดูหนาว แบ่งได้เป็น 3 ฤดูได้แก่ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์ ลักษณะท้องฟ้าจะมีเมฆมากในราวเดือนมิถุนายน ถึง เดือนกันยายน และมีเมฆน้อยในเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าโดยทั่วไปของอุทยานแห่งชาติลำคลองงูยังคงมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
ป่าเบญจพรรณแล้งสูงผสมไผ่ พบมากในพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนและตอนปลายของห้วยลำคลองงู ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 300 เมตรขึ้นไป มีไผ่ 2-3 ชนิด ขึ้นปะปนอยู่ค่อนข้างหนาแน่น ส่วนระดับความสูงกว่า 500 เมตร มีไม้ไผ่ขึ้นปะปนค่อนข้างเบาบาง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ประดู่ มะค่าโมง จำปีป่า จำปาป่า ก่อ กระพี้เขาควาย ตะแบก มะเกลือ กาสามปีก ไผ่หก และไผ่รวก เป็นต้น
ป่าเบญจพรรณแล้งต่ำผสมไผ่ พบขึ้นปกคลุมพื้นที่บริเวณที่มีความสูงน้อยกว่า 300 เมตรจากระดับน้ำทะเลลงมา มีไผ่ 2-3 ชนิด ขึ้นปะปนค่อนข้างหนาแน่น
ป่าดิบแล้ง พบบริเวณลำห้วยต่างๆ และตามหุบเขาที่มีความชันมาก ในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-700 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยาง กระบก กระบาก สมพง มะไฟป่า ชมพู่น้ำ ฯลฯ พืชชั้นล่างได้แก่ เต่าร้าง หวาย และพืชในวงศ์ขิงข่า
พื้นที่อุทยานแห่งชาติลำคลองงู เป็นป่าผืนเดียวกันกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จึงมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม ปัจจุบันสัตว์ป่ามีจำนวนลดลงเนื่องจากถูกราษฎรในพื้นที่แผ้วถางป่าอันเป็นแหล่งอาศัยและทำลายอย่างหนัก สัตว์ป่าบางส่วนจึงอพยพหนีเข้าไปอาศัยอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร แต่ก็ยังมีการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่และเข้ามาหากินในพื้นที่อยู่เสมอ เท่าที่สำรวจพบและสอบถามจากราษฎรในพื้นที่ได้แก่ เลียงผา ช้างป่า เก้ง กวางป่า หมูป่า หมีควาย เสือลายเมฆ เสือโคร่ง กระจง ลิง ค่าง ชะนี อีเห็น กระรอก กระแต ชะมด หนู นกเงือก พบบริเวณเทือกเขาต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และเขตอุทยานแห่งชาติเขาแหลม และยังพบนกนางแอ่นลมอาศัยกันอยู่เป็นจำนวนมากบริเวณถ้ำคลองงูตอนกลาง
นอกจากนี้ยังมีนกเขาเหยี่ยว นกฮูก นกเค้าแมว นกกระปูด นกปรอด นกกางเขน นกขุนทอง นกแซงแซว นกตะขาบ นกหัวขวาน นกขมิ้น นกกวัก ไก่ป่า ไก่ฟ้า งู ตะกวด ลิ่น ตุ๊กแกป่า กิ้งก่าบิน กิ้งก่าแก้ว จิ้งเหลน ตะขาบ ตะพาบ น้ำ กบ เขียด คางคก ปาด อึ่งอ่าง จงโคร่ง ปลาเวียน ปลากระทิง และปลาก้าง เป็นต้น
น้ำตกนางครวญ ชั้นที่3
บริเวณที่กางเต้นท์
ลำธานบริเวณที่กางเต้นท์
ล้างจานตรงนี้เลย
ที่กางเต้นท์
กำลังเดินทางไปดูน้ำตก
ลานน้ำตกระหว่างทาง
ไต่ไปตามสายน้ำตก
น้ำตกชั้นที่3
น้ำเย็นมากระหว่างเดิน
ใกล้ถึงจุดหมายน้ำตกชั้นที่3
บริเวณนนี้ก็สวย
กำลังปีนขากลับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น